โลโก้

โลโก้
ภาพโลโก้

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 คอมพิวเตอร์ในชีวิตประจำวัน


หน่วยการเรียนรู้ที่ 1
คอมพิวเตอร์ในชีวิตประจำวัน


1. ความหมายและความสำคัญของคอมพิวเตอร์ 

1.1 ความหมายของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ หมายถึง อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มนุษย์สร้างขึ้น เพื่อช่วยในการทำงานกับข้อมูลที่มีความสลับซับซ้อน หรือมีปริมาณมาก ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้อง แม่นยำ และรวดเร็ว
ปัจจุบัน จะพบว่าคอมพิวเตอร์มีหลากหลายลักษณะ หลากหลายรูปแบบทั้งคอมพิวเตอร์ขนาดพกพา คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ คอมพิวเตอร์แบบกระเป๋าหิ้วคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ เช่น คอมพิวเตอร์เมนเฟรม หรือซุปเปอร์คอมพิวเตอร์แต่ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใดก็ตาม คอมพิวเตอร์ก็มีความหมายที่ชัดเจนในตัวของมันเองคือ เครื่องคำนวณ ในรูปของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่สามารถรับข้อมูล และคำสั่งผ่านอุปกรณ์รับข้อมูล แล้วนำข้อมูลและคำสั่งนั้น ไปประมวลผลด้วยหน่วยประมวลผลเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ และแสดงผลผ่านอุปกรณ์แสดงผล ตลอดจนสามารถบันทึกรายการต่างๆ ไว้เพื่อใช้งานได้ด้วยอุปกรณ์บันทึกข้อมูลสำรอง คอมพิวเตอร์จึงสามารถมีรูปร่างอย่างไรก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นรูปร่างอย่างที่เราคุ้นเคย หรือพบเห็น ตัวอย่างเช่นเครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติ หรือ ATM ก็ถือว่าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์รูปแบบหนึ่ง


1.2 ความสำคัญของคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์ได้ถูกพัฒนาและมีความก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพการทำงานสูงขึ้น ซึ่งสามารถหน่วยงานราชการและเอกชน นำมาใช้ในด้านต่าง ๆ เช่น การพิมพ์เอกสาร รายงาน หนังสือ การ์ดอวยพร วารสาร นิตยสาร หนังสือพิมพ์ และสามารถออกแบบและสร้างสรรค์งานศิลปะ เช่น การวาดรูปการ์ตูน การออกแบบอาคาร การเล่นเกม การดูภาพยนตร์ การฟังเพลง
นอกจากนี้คอมพิวเตอร์ใช้งานอีกรูปแบบหนึ่งที่ได้รับความนิยม คือ การใช้งานคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งสามารถเชื่อมโยงข้อมูลจากแหล่งหนึ่งไปอีกที่หนึ่ง เพียงปลายนิ้วโดยไม่จำกัดเวลาและสถานที่ นอกจากนี้ยังมีการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในด้านงานต่างๆ 

1. การสื่อสาร (Communication) เช่น การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) การพูดคุยและส่งข้อความทางอินเทอร์เน็ต โซเซียลเน็ตเวิร์ก (facebook) และไลน์ (Line) เป็นต้น

2. การเลือกซื้อสินค้า (shopping) การเยี่ยมชมร้านค้าต่างๆบนอินเทอร์เน็ตที่เรียกว่า ไซเบอร์มอลล์ (cybermall)เพื่อเลือกชมสินค้าผ่านระบบการบริการทางอินเทอร์เน็ตทำให้ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายได้

3. การสืบค้นข้อมูล (searching) การสืบค้นข้อมูลต่างๆผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยมีโปรแกรมในการค้นหาเว็บไซต์ที่เรียกว่า “Search Engine” เช่น www.google.co.th, www.bing.com เป็นต้น เพื่อค้นหาบทความ เอกสาร ข่าว รูปภาพ ตามความสนใจ

4. ความบันเทิง (entertainment) สามารถอ่านหนังสือ ดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกม ผ่านการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต


5. ด้านการศึกษา (education) เช่น การนำคอมพิวเตอร์มาใช้เพื่อพิมพ์รายงาน นำเสนองาน ทำสื่อการเรียนการสอน ทำงานหรือทำการบ้านส่งอาจารย์ รวมถึงการเรียนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-learning)


มุมเทคโนโลยี --> ประวัติคอมพิวเตอร์


ปี คศ.1832 (พ.ศ.2336) นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษชื่อชาลส์ แบบเบจ (Charles Babbage) ได้ประดิษฐ์เครื่องผลต่าง(difference engine) ที่มีฟังก์ชันทางตรีโกณมิติต่าง ๆ โดยอาศัยหลักการทางคณิตศาสตร์ 
ต่อมาในปี ค.ศ.1833 (พ.ศ.2376) ได้ออกแบบเครื่องวิเคราะห์ (analytical engine) ซึ่งมีหลักการทำงานคล้ายคอมพิวเตอร์ทั่วไป ในปัจจุบัน การทำงานของเครื่องนี้แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนเก็บข้อมูล ส่วนคำนวณ และส่วนควบคุม ใช้ระบบเครื่องยนต์ไอน้ำหมุนฟันเฟือง มีข้อมูลอยู่ในบัตรเจาะรู สามารถคำนวณได้โดยอัตโนมัติ และเก็บผลลัพธ์ในหน่วยความจำ ก่อนจะพิมพ์ออกมาทางกระดาษ
จากแนวคิดเกี่ยวกับการสร้างเครื่องผลต่างและออกแบบเครื่องวิเคราะห์เป็นประโยชน์ต่อวงการคอมพิวเตอร์ในยุคต่อมาเป็นอย่างมาก ชาลล์ แบบเบจ จึงได้รับการยกย่องว่าเป็น 
"บิดาแห่งคอมพิวเตอร์"

2.บทบาทของคอมพิวเตอร์
2.1 ด้านงานราชการ (government)

เช่น กรมสรรพากร มีการวางระบบเว็บไซต์ สำหรับให้บริการคำนวณภาษี ที่ว่าการอำเภอใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดเก็บข้อมูลการแจ้งเกิด แจ้งตาย ย้ายที่อยู่ เป็นต้น



2.2 ด้านงานธุรกิจ (business)

คอมพิวเตอร์ถูกนำมาใช้งานด้านธุรกิจ เช่น การทำรายงาน การนำเสนองาน การซื้อและขายสินค้าผ่านระบบอินเทอร์เน็ต (e-commerce) การทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
(e-banking) และการทำธุรกรรมต่างๆโดยใช้โทรศัพท์มือถือผ่านเครือข่ายโทรศัพท์(m-Banking)

2.3 ด้านงานสื่อสารโทรคมนาคม (telecommunication)

งานคมนาคม เช่น การควบคุมสัญญาณไฟจราจร การจองตั๋วรถไฟ การจองตั๋วเครื่องบิน เป็นต้น

2.4 ด้านงานการศึกษา (education)

เช่น การใช้สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)ซึ่งสื่อนี้จะแสดงในรูปแบบของภาพ เสียง ตัวอักษร และเทคนิคต่างๆ และยังมีการเรียนผ่านอินเทอร์เน็ต คือ บทเรียนออนไลน์ (e-learning)

2.5 ด้านงานวิทยาศาสตร์และการแพทย์ (science and medical)

ด้านวิทยาศาสตร์นำมาช่วยเรื่อง การศึกษา ค้นคว้า ทำการทดลอง การพยากรณ์อากาศ เป็นต้น ด้านการแพทย์นำมาช่วยในการพัฒนาเครื่องมือทางด้านการแพทย์ เช่น เครื่องตรวจวัดคลื่นหัวใจ เครื่องเอกซเรย์ เป็นต้น

2.6 ด้านงานวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม (engineering and architecture)

ช่วยในการออกแบบ เขียนแบบ หรือจำลองโครงสร้างของงานต่างๆ เช่น การออกแบบอาคาร การสร้างเขื่อน เป็นต้น

2.7 งานอื่นๆ

เช่น งานละคร งานโฆษณา การประชุมทางไกล เป็นต้น


3. ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์

    1) ช่วยสร้างงาน

เช่น เอกสาร รายงาน รูปภาพ แบบจำลองโครงสร้าง

2) ช่วยสร้างความบันเทิง

เช่น ดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกม เป็นต้น

3) ช่วยติดต่อสื่อสาร

ช่วยติดต่อสื่อสาร ช่วยส่งข้อมูลข่าวสารได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ประหยัดเวลา

4) ช่วยสืบค้นข้อมูล

คอมพิวเตอร์เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ดี สำหรับค้นคว้าหาความรู้ต่างๆ ทำให้ได้รับข้อมูลตามต้องการ

5) ช่วยแก้ไขปัญหาทางด้านสังคมและประเทศ

คอมพิวเตอร์ช่วยวางแผนการทำงานประเมินสถานการณ์ทางเศรษฐกิจได้อย่างเป็นระบบ






Previous
Next Post »