โลโก้

โลโก้
ภาพโลโก้

ช่างซ่อมไฟฟ้า ความรู้เบื้องต้น

วงจรไฟฟ้าในบ้าน
     วงจรไฟฟ้า เป็นเส้นทางที่กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้ครบรอบวงจรไฟฟ้าในบ้าน โดยกระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านสายไฟ สะพานไฟ ฟิวส์ 
     สวิตช์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าตามลำดับ  แล้วจึงไหลกลับทางสายกลาง สายไฟของวงจรไฟฟ้าในบ้าน  ประกอบด้วยสายไฟ 2 สาย คือ
       1. สายมีไฟ   มักจะหุ้มด้วยพีวีซีสีแดง มีศักย์ไฟฟ้า 220 โวลต์  หรือ เรียกว่า สาย L
       2.สายกลาง  มักจะหุ้มด้วยพีวีซีสีดำ มีศักย์ไฟฟ้าเป็นศูนย์  หรือ เรียกว่า สาย N

วงจรไฟฟ้าภายในบ้าน ส่วนใหญ่จะเป็นการต่อแบบขนาน ซึ่งเป็นการต่อวงจรทำให้อุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละชนิดอยู่คนละวงจร ซึ่งถ้าเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดหนึ่งเกิดขัดข้องเนื่องจากสาเหตุใดก็ตาม เครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดอื่นก็ยังคงใช้งานได้ตามปกติเพราะไม่ได้อยู่ในวงจรเดียวกัน ไฟฟ้าที่ใช้ในบ้านเรือนทั่วไปเป็นไฟฟ้ากระแสสลับมีความต่างศักย์ 220 โวลต์

                    
โดยปกติสาย L และสาย N ที่ต่อเข้าบ้านจะต่อเข้ากับแผงควบคุมไฟฟ้า ซึ่งเป็นที่ควบคุมการจ่ายพลังงานไฟฟ้าทั้งหมดในบ้านอย่างมีระบบ บนแผงควบคุมไฟฟ้ามักจะประกอบด้วย ฟิวส์รวม สะพานไฟรวม และสะพานไฟย่อย โดยสะพานไฟย่อยมีไว้เพื่อแยกและควบคุมการส่งพลังงานไฟฟ้าไปยังวงจรไฟฟ้าย่อยตามส่วนต่างๆ ของบ้านเรือน เช่น วงจรชั้งล่าง วงจรชั้นบน วงจรในครัว เป็นต้น
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ วงจรไฟฟ้าในบ้าน
เมื่อใช้เครื่องใช้ไฟฟ้า วงจรไฟฟ้าจะเป็นดังนี้  






ในวงจรไฟฟ้าในบ้าน กระแสไฟฟ้าจะผ่านมาตรไฟฟ้าทางสาย L เข้าสู่สะพานไฟ ผ่านฟิวส์และสวิตช์ แล้วไหลผ่านเครื่องใช้ไฟฟ้า ดังนั้นกระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านสาย N ออกมา ดังรูป
     ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ วงจรไฟฟ้าในบ้าน
   รูปแสดงตัวอย่างวงจรไฟฟ้าในบ้าน
                                            
วงจรไฟฟ้าในบ้านประกอบด้วยอุปกรณ์ไฟฟ้าและเครื่องใช้ไฟฟ้า
                          วงจรปิด   คือ วงจรไฟฟ้าที่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้ครบวงจร
                          วงจรเปิด  คือ   วงจรไฟฟ้าที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของวงจรไฟฟ้าขาด ทำให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านไม่ได้

                  


อุปกรณ์ไฟฟ้าที่จำเป็นต่อวงจรไฟฟ้าในบ้าน ได้แก่ สายไฟ ฟิวส์ สะพานไฟ สวิตช์ เต้ารับ และเต้าเสียบ


อุปกรณ์ไฟฟ้าในชีวิตประจำวันที่ควรรู้จัก
สายไฟ (wire)
         สายไฟเป็นอุปกรณ์สำหรับส่งพลังงานไฟฟ้าจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยกระแสไฟฟ้าจะนำพลังงานไฟฟ้าผ่านไปตามสายไฟจนถึงเครื่องใช้ไฟฟ้า สายไฟทำด้วยสารที่มีคุณสมบัติเป็นตัวนำไฟฟ้า (ยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้ดี) ได้แก่
1. สายไฟแรงสูง ทำด้วยอะลูมิเนียม เพราะอะลูมิเนียม มีราคาถูกและน้ำหนักเบากว่าทองแดง (อะลูมิเนียมมีความต้านทาน สูงกว่าทองแดง)
2. สายไฟทั่วไป (สายไฟในบ้าน) ทำด้วยโลหะทองแดง เพราะทองแดงมีราคาถูกกว่าโลหะเงิน (เงินมีความต้านทานน้อยกว่า ทองแดง)
                       
สะพานไฟ
          สะพานไฟ, คัตเอาท์ (อังกฤษ: cut-out) หรือ ตัวตัดวงจร, เซอร์กิตเบรกเกอร์ (อังกฤษ: circuit breaker) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ตัดตอนแหล่งจ่ายไฟออกจากวงจรไฟฟ้าลูก เช่น ตัดวงจรไฟฟ้าภายในบ้านออกจากแหล่งจากไฟภายนอกเป็นต้น นอกจากทำหน้าที่เป็นสวิตซ์ไฟฟ้าเมื่อผู้ใช้สั่งการแล้ว ยังทำหน้าที่ตัดการจ่ายไฟโดยอัตโนมัติได้เมื่อมีเหตุ ไฟฟ้าลัดวงจร ไฟดูด ไฟรั่ว ไฟตก ไฟเกิน ได้แล้วแต่ความสามารถของสะพานไฟที่ใช้
       ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ อุปกรณ์ไฟฟ้า
ฟิวส์ (Fuse)
       ฟิวส์ (อังกฤษ: fuse) เป็นอุปกรณ์นิรภัยชนิดหนึ่งที่อยู่ในเครื่องใช้ไฟฟ้าโดยจะป้องกันการลัดวงจร และการใช้กระแสเกินในวงจรไฟฟ้า โดยจะหลอมละลาย และตัดกระแสไฟออกจากวงจรเพื่อป้องการอุปกรณ์เสียหาย โดยฟิวล์จะเป็นเส้นลวดเล็ก ๆ ทำจากตะกั่วผสมดีบุก มีจุดหลอมเหลวที่ต่ำ มีหลายชนิดให้เลือกใช้ตามความเหมาะสมของการใช้งาน
       ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ฟิวส์ (Fuse)
          ฟิวส์ (fuse) เป็นอุปกรณ์ป้องกันอันตรายที่เกิดจากการใช้กระแสไฟฟ้า เมื่อเกิดไฟฟ้าลัดวงจร หรือกระแสไฟฟ้าไหลเข้าสู่วงจรมากเกินไป ฟิวส์จะหลอมละลายและตัดวงจรไฟฟ้าทันที การต่อฟิวส์ ต้องต่อแบบอนุกรมเข้าในวงจร
คุณสมบัติของฟิวส์
  1. ฟิวส์เป็นโลหะผสมประกอบด้วยบิสมัท (Bi) ร้อยละ 50 ตะกั่ว (Pb) ร้อยละ 25 และดีบุก (Sn) ร้อยละ 25 โดยมวล
  2. ฟิวส์มีจุดหลอมเหลวต่ำ ขณะที่กระแสไฟฟ้าผ่านฟิวส์ พลังงานไฟฟ้าจะเปลี่ยนเป็น พลังงาน ความร้อนให้กับฟิวส์เล็กน้อย แต่เมื่อมีการใช้กระแสไฟฟ้ามากเกินกำหนด หรือเกิดไฟฟ้าลัดวงจร กระแสไฟฟ้าปริมาณมากจะผ่านฟิวส์ พลังงานไฟฟ้าจะเปลี่ยน เป็นพลังงานความร้อนให้กับฟิวส์มากขึ้น จนฟิวส์หลอมละลาย ทำให้วงจรไฟฟ้าในบ้าน ถูกตัดกระแสไฟฟ้าไหลผ่านอีกไม่ได้
            หลักเกณฑ์ในการเลือกใช้ฟิวส์
ฟิวส์ที่ใช้ตามบ้านมีหลายขนาด เช่น ขนาด 10, 15 และ 30 แอมแปร์ ฟิวส์ขนาด 15 แอมแปร์คือ ฟิวส์ที่ยอมให้กระแสไฟฟ้าผ่านได้ไม่เกิน 15 แอมแปร์ ถ้ากระแสไฟฟ้าผ่านมากกว่านี้ ฟิวส์จะหลอมละลาย ทำให้วงจรขาด ดังนั้น การเลือกใช้ฟิวส์จึงต้องเลือกขนาดของฟิวส์ให้พอเหมาะกับปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่าน
ฟิวส์มีหลายชนิด แต่ละชนิดจะใช้แตกต่างกัน ดังนั้นจึงควรเลือกใช้ให้เหมาะสม

ฟิวส์ขวดกระเบื้อง 

ฟิวส์เส้น

ฟิวส์ใบมีด

ฟิวส์หลอดแก้ว

ฟิวส์ก้ามปูหรือฟิวส์แผ่น



ฟิวส์ชนิดต่างๆ

การเลือกใช้ขนาดของฟิวส์ให้เหมาะสม ทำได้โดยการคำนวณหาปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ ไหลผ่านอุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ รวมกันโดยใช้ความสัมพันธ์

กำลังไฟฟ้า ( วัตต์ ) = ความต่างศักย์ ( โวลต์ ) X กระแสไฟฟ้า ( แอมแปร์ )
                                                               หรือ P = VI
P แทนกำลังไฟฟ้า มีหน่วยเป็น วัตต์ (W)                                                                             V แทนความต่างศักย์ มีหน่วยเป็น โวลต์ (V)                                                                         I แทนกระแสไฟฟ้า มีหน่วยเป็น แอมแปร์ (A)
             ดังนั้น เมื่อทราบกำลังไฟฟ้า (P) ความต่างศักย์ (V) ซึ่งไฟฟ้าตามบ้านจะมีความต่างศักย์ 220 โวลต์ ก็สามารถคำนวณหา
    ปริมาณกระแสไฟฟ้า (I) ได้ และทำให้ทราบว่าต้องเลือกใช้ฟิวส์ขนาดเท่าใด ถ้าภายในบ้านมีอุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้าหลาย
    ชนิด จะต้องนำปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ต้องการใช้มารวมกัน จึงจะเลือกใช้ขนาดฟิวส์ได้ถูกต้อง
               การเลือกใช้ฟิวส์ ควรเลือกฟิวส์ที่ทนกระแสไฟฟ้าสูงสุดได้มากกว่ากระแสไฟฟ้าสูงสุดที่ใช้ในบ้านเล็กน้อย และไม่ควรใช้
    ลวดเหล็กหรือลวดทองแดงที่มีจุดหลอมเหลวสูงแทนฟิวส์ เพราะเมื่อกระแสไฟฟ้าไหลผ่านมากเกินไป ลวดเหล็กหรือลวดทองแดง
    จะไม่หลอมละลาย จึงไม่ช่วยตัดวงจร ไฟฟ้าในบ้าน
              ฟิวส์อัตโนมัติ หรือเซอร์กิต เบรคเกอร์ (Circuit breaker) ทำหน้าที่ตัดวงจรไฟฟ้าเมื่อมี กระแสไฟฟ้าไหลผ่านเกิน
      กำหนด หรือเมื่อเกิดไฟฟ้าลัดวงจร ฟิวส์อัตโนมัติจะตัดวงจรทันที โดยไม่มี ส่วนประกอบใดหลอมละลายและขาดเหมือนฟิวส์      
    เมื่อมีการแก้ไขสาเหตุที่เกิดขึ้นได้แล้ว ก็สามารถเปิดสวิตซ์ให้กระแสไฟฟ้าผ่านวงจรได้ดังเดิม โดยไม่ต้องเปลี่ยนฟิวส์ใหม่ นิยมใช้
    ต่อกับเครื่องใช้ ไฟฟ้าที่ต้องใช้กระแสไฟฟ้าปริมาณมาก เช่น เครื่องปรับอากาศ มอเตอร์ มีให้เลือกหลายแบบ ดังภาพ

    ฟิวส์อัตโนมัติชนิดต่างๆ

    อุปกรณ์หลักสำหรับระบบไฟฟ้าในบ้านพักอาศัย ได้แก่
         1. เครื่องป้องกันกระแสไฟเกิน และกระแสไฟลัดวงจร
         2. เครื่องตัดกระแสไฟรั่ว
         3. หลักดิน, สายต่อหลักดิน และสายดินเครื่องป้องกันกระแสเกินและกระแสไฟลัดวงจร หรือที่เรียกว่า " เครื่องปลดวงจร " หรือ " สวิทช์ตัดตอน "มีอยู่ 2 แบบ คือ แบบกึ่งอัตโนมัติ และแบบอัตโนมัติ
              แบบกึ่งอัตโนมัติ ได้แก่ คารตริกฟิวส์ และ คัทเอ้าท์ (หรือสะพานไฟ)
              แบบอัตโนมัติ ได้แก่ สะพานไฟอัตโนมัติ และ เซอร์กิตเบรคเกอร์ หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า " เบรคเกอร์ "



         การใช้กระแสไฟเกิน หมายถึง การใช้กระแสไฟจากเครื่องใช้ไฟฟ้าใดๆ แล้วทำให้ค่าการกินกระแสไฟจากการใช้ไฟนั้นมากกว่าค่ารองรับการใช้กระแสไฟของเครื่องป้องกัน หรือสวิทช์ตัดตอน
         การลัดวงจร หมายถึง การที่ตัวนำกระแสไฟของสายไฟ 2 เส้น(ในระบบ 1 เฟส 2 สาย) คือสายเส้นที่มีกระแสไฟ (L) ไปสัมผัส ถูกสายเส้นที่ไม่มีกระแสไฟหรือสายศูนย์ (N) อย่างโดยตรง หรือการที่ตัวนำกระแสไฟของสายไฟ 3 เส้น ( ในระบบ 3 เฟส-4 สาย) สัมผัสถูกกัน เช่น สาย L1 สัมผัสถูกสาย L2 , หรือสาย L2 สัมผัสถูกสาย L3, หรือสาย L1 สัมผัสถูกสาย L3 อย่างโดยตรงเช่นกัน การลัดวงจรไฟฟ้าเช่นนี้จะรุนแรงมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับขนาดสายไฟและปริมาณการใช้กระแสไฟในขณะนั้น

         ถ้าเราใช้คาร์ตริกฟิวส์ หรือคัทเอ้าท์ เป็นสวิทช์ตัดตอน มันจะตัดกระแสไฟเพียงเส้นเดียวเท่านั้น ( ส่วนมากจะตัดเส้น
    ที่มีกระแสไฟ คือสาย " L " ส่วนสายเส้นที่ไม่มีกระแสไฟ หรือสายศูนย์ คือสาย " N " จะยังถูกต่อกับแหล่งจ่ายไฟฟ้าภายนอกอยู่ )ซึ่งบางครั้งเราคิดว่าสายศูนย์สามารถจับได้ แต่หากมีกระแสผิดปกติเข้ามาที่สายศูนย์โดยที่ไม่ได้ลงดินไป เราจะถูกไฟฟ้าดูดทันทีหรือถ้าเราใช้ "สะพานไฟอัตโนมัติ" เป็นสวิทช์ตัดตอน มันจะตัดการจ่ายกระแสไฟทั้ง 2 เส้น (กรณีแบบ 2 ขั้ว 220 V.)แต่เราจะต้องถอดตัวมันออกมาเพื่อเปลี่ยนแผ่นโลหะนำกระแสไฟทุกครั้ง เพราะมันจะขาดออกเหมือนเส้นลวดของคาร์ตริกฟิวส์แต่ถ้าเราใช้ " เซอร์กิตเบรคเกอร์ “ เป็นสวิทช์ตัดตอน มันจะตัดการจ่ายกระแสไฟทั้ง 2 เส้น (กรณีแบบ 2 ขั้ว 220 V.)และสามารถโยกก้านสับต่อกระแสไฟใช้งานใหม่ได้เมื่อแก้ไขจุดผิดพลาดเสร็จแล้ว จึงเห็นได้ว่าสะดวกและปลอดภัยกว่า

    เครื่องตัดกระแสไฟรั่ว บางทีก็เรียกว่า " ตัวป้องกันไฟดูดไฟรั่ว " ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันมีอยู่ 2 ชนิด คือ
         1. ชนิดที่สามารถปลดวงจรเมื่อเกิดไฟลัดวงจร หรือใช้กระแสไฟเกินได้
         2. ชนิดที่ไม่สามารถปลดวงจรเมื่อเกิดไฟลัดวงจร หรือใช้กระแสไฟเกินได้
    ชนิดที่สามารถปลดวงจรเมื่อเกิดไฟฟ้าลัดวงจร หรือใช้กระแสไฟเกินได้ ( RCBO ) เครื่องตัดไฟรั่วชนิดนี้ ส่วนมากถูกออกแบบการทำงานโดยใช้อุปกรณ์ทางอิเลคทรอนิคส์ประกอบเป็นวงจรขึ้นมา เพื่อไปสั่งให้ชุดกลไกของตัวปลดวงจร(ตรงก้านโยก)สับลง อีกทั้งยังมีชุดป้องกันการลัดวงจรและการใช้กระแสไฟเกินประกอบอยู่ด้วย ทำให้สามารถติดตั้งเป็นเมนสวิทช์ ตัดตอนไฟฟ้าภายในบ้านต่อจากมิเตอร์ของการไฟฟ้าฯ ได้เลย แต่เครื่องตัดกระแสไฟรั่วชนิดนี้ เราจะต้องเข้าสายไฟให้ถูกตำแหน่ง คือ สายเส้นที่มีกระแสไฟ ต้องเข้าที่ขั้วอักษร " L " และสายศูนย์ ต้องเข้าที่ขั้วอักษร " N " เพราะถ้าหากเข้าสายไฟสลับขั้วกัน วงจรอิเลคทรอนิคส์ภายในอาจจะไม่ทำงาน ทำให้เครื่องตัดกระแสไฟรั่วเปรียบเสมือนเป็นเพียงเบรคเกอร์ตัวหนึ่งเท่านั้นเอง



    ชนิดที่ไม่สามารถปลดวงจรเมื่อเกิดไฟลัดวงจร หรือใช้กระแสไฟเกินได้ ( RCCB ) เครื่องตัดไฟรั่วชนิดนี้ ส่วนมากจะถูกออกแบบการทำงานโดยใช้ Current transformer ทรงกลมขนาดเล็กๆ ติดตั้งอยู่ภายใน(ไม่มีวงจรอิเลคทรอนิคส์เข้ามาเกี่ยวข้องเลย) และมีกลไกทางไฟฟ้าประกอบอยู่รวมกัน อาศัยหลักการณ์ง่ายๆ ของการสร้างสนามแม่เหล็กจากลวดทองแดงที่พันรอบแกนเหล็กทั้ง 2 ด้าน คือด้านกระแสไฟเข้า และด้านกระแสไฟออกให้เกิดความสมดุลย์กัน ( หรือที่เรียกว่ากระแสไหลเข้าเท่ากับกระแสไหลออก ) ก็จะเป็นสภาวะปกติ แต่หากมีกระแสไฟรั่วที่ด้านไฟออก สนามแม่เหล็กที่สร้างอยู่จะมากเพียงด้านเดียวก็จะไปดันแผ่นโลหะบางๆ ภายในให้ไปเตะกระเดื่องของก้านโยกให้สับลงเพื่อปลดการจ่ายกระแสไฟออกไป เครื่องตัดกระแสไฟรั่วชนิดนี้ส่วนมากจะไม่มีอักษรกำกับที่ขั้วเข้าสายไฟ จึงสามารถเข้าสายไฟเส้น " L " และ " N " สลับขั้วกันได้ซึ่งไม่มีผลต่อระบบการทำงานของกลไกภายใน



    แบบใช้วงจรอิเลคทรอนิคส์ควบคุม
    ข้อดี
         1. สามารถปรับเลือกค่าตัดกระแสไฟรั่วได้ หรือต่อแบบไม่ผ่านวงจรตรวจสอบกระแสไฟรั่วได้
         2. มีชุดป้องกันการใช้กระแสไฟเกินในตัวเดียวกันจึงสามารถต่อหลังมิเตอร์ของการไฟฟ้าฯ ได้

    ข้อเสีย
         1. การที่มีตัวปรับค่ากระแสไฟรั่ว นั่นหมายถึงชีวิตของเราตกอยู่ในอันตรายได้ทุกเมื่อ
         2. วงจรอิเลคทรอนิคส์มีความไวต่อกระแสกระเพื่อมมันจะตัดการจ่ายกระแสไฟบ่อยมากจนน่ารำคาญ

    แบบใช้ Current transformer ควบคุม
    ข้อดี
         1. ไมีมีปุ่มปรับเลือกค่ากระแสไฟรั่ว หรือต่อผ่านชุดควบคุม จึงมั่นใจในความปลอดภัยของชีวิต
         2. ไม่มีความไวต่อกระแสกระเพื่อม หรือ กระแสไฟกระโชก จึงไม่ตัดการจ่ายกระแสไฟให้น่ารำคาญ

    ข้อเสีย
         1. ต่อเป็นเมนตัดตอนหลังมิเตอร์การไฟฟ้าฯ ไม่ได้ต้องต่อผ่านคาร์ตริกฟิวส์หรือเบรคเกอร์ก่อนเสมอ
         2. ถ้าต่อใช้งานกับอุปกรณ์ไฟฟ้าที่กินกระแสไฟมากกว่าค่าที่กำหนดไว้ มันจะชำรุดเสียหายทันที

    สาเหตุที่ทำให้เครื่องตัดกระแสไฟรั่วปลดวงจร ( ไม่จ่ายกระแสไฟ ) มีหลายสาเหตุ อาจเนื่องมาจาก
         1. มีกระแสไฟรั่วที่อุปกรณ์ หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต่อผ่านเครื่องตัดกระแสไฟรั่ว ซึ่งเกินกว่าค่าที่กำหนดไว้ที่เครื่องตัด-
    กระแสไฟรั่วตัวนั้นๆ เช่นอาจมากกว่า 30 mA.( มิลิแอมป์ )
         2. สายไฟที่ติดตั้งใช้งานชำรุดมีรอยถลอกบริเวณฉนวนหุ้มตัวนำเช่น ทองแดงหรือ อลูมิเนียมจนผิวตัวนำไปสัมผัสถูก
    กับโครงสร้างที่เป็นโลหะของอาคาร หรือสัมผัสถูกกับผิวท่อร้อยสายไฟแบบโลหะ ทำให้กระแสไฟสามารถรั่วไหลลงสู่พื้นดินได้
         3. สายไฟที่ติดตั้งใช้งานชำรุดมีรอยถลอกบริเวณฉนวนหุ้มตัวนำเช่น ทองแดงหรือ อลูมิเนียมจนผิวตัวนำไปสัมผัสถูก
    กับผนังอาคารที่มีความชื้นอยู่ตลอดเวลา ทำให้กระแสไฟสามารถรั่วไหลลงสู่พื้นดินได้
         4. สายไฟที่ติดตั้งใช้งานชำรุดมีรอยถลอกบริเวณฉนวนหุ้มตัวนำเช่น ทองแดงหรือ อลูมิเนียมจนผิวตัวนำไปสัมผัสถูก
    กับส่วนต่างๆ ของอาคารที่มีน้ำรั่วจากระบบประปา หรือสุขาภิบาลอยู่ตลอดเวลา ทำให้กระแสไฟสามารถรั่วไหลลงสู่พื้นดินได้
         5. สายไฟที่ติดตั้งใช้งานที่ร้อยในท่อร้อยสายไฟ ชำรุดมีรอยถลอกบริเวณฉนวนหุ้มตัวนำเช่น ทองแดง หรืออลูมิเนียมและในท่อร้อยสายไฟนั้นมีน้ำขังอยู่ ทำให้กระแสไฟรั่วสู่น้ำและลงสู่ดินได้ในที่สุด
         6. เครื่องตัดกระแสไฟรั่วเสื่อมสภาพ หรือมีความชื้นอยู่ภายใน หรือมีความผิดปกติของกลไกภายในจากการผลิต

    ขั้นตอนการตรวจหาสาเหตุเมื่อเครื่องตัดกระแสไฟรั่วปลดวงจร ( ไม่จ่ายกระแสไฟ ) มีดังนี้
         1. กรณีที่ไม่มีวงจรย่อยควบคุม คือ ถ้ามีเครื่องใช้ไฟฟ้าเสียบอยู่กับเต้ารับไฟฟ้าหลายๆ จุด (ซึ่งต่อผ่านเครื่องตัด - กระแสไฟรั่วโดยตรง ) และเราไม่รู้ว่าเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าตัวใด ก็ให้ดึงถอดปลั๊กไฟของเครื่องใช้ไฟฟ้าออกจากเต้ารับไฟฟ้าทุกตัว แล้วโยกก้านสับของเครื่องตัดกระแสไฟรั่วขึ้น จากนั้นให้เสียบปลั๊กไฟของเครื่องใช้ไฟฟ้ากับเต้ารับไฟฟ้าเปิดใช้งานทีละตัว เราก็จะพบเครื่องใช้ไฟฟ้าตัวที่มีกระแสไฟรั่ว เพราะมันจะทำให้ก้านโยกของเครื่องตัดกระแสไฟรั่วสับลงให้เราเห็นทันที



         2. กรณีที่มีวงจรย่อยควบคุม คือ เครื่องใช้ไฟฟ้าเสียบอยู่กับเต้ารับไฟฟ้าหลายๆ จุด ( โดยที่เต้ารับไฟฟ้านั้นๆ ต่อเป็นวงจรอยู่กับเบรคเกอร์ย่อยที่ต่อผ่านเครื่องตัดกระแสไฟรั่ว ) ถ้ามีเบรคเกอร์วงจรย่อยต่อผ่านเครื่องตัดกระแสำไฟรั่วหลายตัวก็ให้โยกก้านสับที่ตัวเบรคเกอร์เหล่านี้ลงทั้งหมดก่อน จากนั้นก็โยกก้านสับที่เครื่องตัดกระแสไฟรั่วขึ้น(จะโยกขึ้นใหม่ได้) แล้วเริ่มโยกก้านสับที่เบรคเกอร์วงจรย่อยขึ้นทีละตัว เมื่อถึงตัวที่มีกระแสไฟรั่วในวงจรนั้น เครื่องตัดกระแสไฟรั่วจะตัดกระแสไฟทันที เราก็สับก้านโยกที่ตัวเบรคเกอร์ตัวนั้นลงเพียงตัวเดียว เบรกเกอร์วงจรย่อยอื่นๆก็จะใช้ไฟได้ดังเดิม ( แต่ถ้ามีกระแสไฟรั่วมากกว่าหนึ่งวงจร เราก็ต้องสับก้านโยกที่เบรคเกอร์วงจรย่อยที่มีกระแสไฟรั่วเหล่านั้นลงให้หมด เครื่องตัดกระไฟรั่วจึงจะเปิดใช้งานได้ )



         3. กรณีเครื่องตัดกระแสไฟรั่วเสื่อมสภาพ หรือไม่ตัดกระแสไฟเมื่อมีกระแสไฟรั่ว หรือถูกไฟดูด โดยปกติเครื่องตัดกระแสไฟรั่วทั่วๆ ไป จะมีปุ่มทดสอบการทำงาน ( TEST ) อยู่ที่ด้านหน้าของตัวเครื่อง เพื่อให้ผู้ใช้ไฟได้ทำการทดสอบหลังจากที่ได้ติดตั้งใช้งานไปแล้วทุกๆ 1 เดือน จะได้ทราบว่าเครื่องยังทำงานเป็นปกติอยู่หรือไม่ ก็โดยการกดปุ่มทดสอบ " TEST " ขณะที่ใช้กระแสไฟอยู่ ถ้าเครื่องตัดกระแสไฟรั่วปลดวงจรลงแสดงว่าเครื่องยังเป็นปกติอยู่ แต่ถ้าเครื่องยังจ่ายกระแสไฟให้แก่เครื่องใช้ไฟฟ้าอยู่อย่างเดิม แสดงว่าเครื่องตัดกระแสไฟรั่วไม่ทำงาน เราอาจถูกไฟดูดถ้ามีกระแสไฟรั่วเกิดขึ้น
         มีวิธีทดสอบอีกวิธีหนึ่ง คือ ให้นำเครื่องตัดกระแสไฟรั่วมาวางบนโต๊ะ แล้วทำการต่อสายไฟ 2 เส้น ( แบบ 220 โวลท์ )
    เข้าที่ขั้วต่อสายด้านบนของเครื่องตัดกระแสไฟรั่ว ( ขั้วด้านล่างไม่ต้องต่อสายไฟออก ) จ่ายแรงดันไฟฟ้าผ่านเข้าตัวเครื่อง จากนั้นให้โยกก้านสับของตัวเครื่องขึ้น ใช้ไขควงวัดไฟวัดที่ขั้วต่อสายไฟด้านล่างดูว่ามีกระแสไฟไหลผ่านมาที่ขั้วหรือไม่(วัดไฟดูทีละขั้ว)ถ้ามีกระแสไฟมาที่ขั้วใดขั้วหนึ่งแสดงว่าปกติ หลังจากนั้นให้กดปุ่มทดสอบ " TEST " ที่ตัวเครื่อง ถ้ากดแล้ว แต่ก้านโยกไม่สับลงแสดงว่าเครื่องตัดกระแสไฟรั่วผิดปกติใช้งานไม่ได้



         4. กรณีเข้าสายไฟที่เครื่องตัดกระแสไฟรั่วผิดขั้ว เครื่องตัดกระแสไฟรั่วบางยี่ห้อที่ผลิตมาใช้งาน จะระบุตำแหน่ง
    เข้าสายไฟอย่างเจาะจง เช่น ระบุขั้วสายศูนย์ ( N ) นั่นหมายความว่าเราต้องเข้าสายศูนย์ (N) ที่ขั้วนี้เท่านั้น หากนำสายศูนย์ (N)ไปเข้าที่ตำแน่งสาย LINE (L) เครื่องตัดกระแสไฟรั่วอาจไม่ทำงานก็ได้ การทดสอบจะคล้ายๆ ในข้อที่ 3. เพียงแต่ให้ลองสลับสายไฟที่ขั้วด้านสายเข้าที่ตัวเครื่องตัดกระแสไฟรั่วทีละครั้ง ( แต่ต้องดึงปลั๊กไฟที่เต้ารับที่ผนังออกก่อนเพื่อความปลอดภัย )


    สวิตซ์(Switch)
           สวิตซ์ เป็นอุปกรณ์สำคัญที่ใช้ในการเปิดหรือปิดวงจรไฟฟ้าเฉพาะส่วนที่ต้องการปล่อยให้กระแสไฟฟ้าไหลเข้าวงจร หรือตัดกระแสไฟฟ้า ไม่ไหลเข้าวงจรตามต้องการได้ ที่ตัวของสวิตซ์จะมีตัวเลขบอกปริมาณกระแสไฟฟ้าและแรงดันไฟฟ้าไว้ด้วย

           
    ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ฟิสวิตซ์(Switch)   ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ฟิสวิตซ์(Switch)

    เต้ารับ เต้าเสียบ(Plug)
            เต้ารับและเต้าเสียบ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อวงจรไฟฟ้า ทำให้กระแสไฟฟ้าไหลเข้าสู่อุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้า โดยนำปลายของสายไฟฟ้าของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต่ออยู่กับเต้าเสียบ ไปเสียบกับเต้ารับ ที่ต่ออยู่ในวงจรไฟฟ้าใดๆ ก็ได้ภายในบ้าน
     
          ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เต้ารับ เต้าเสียบ(Plug)       
    หลอดไฟฟ้า
             หลอดไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์ที่ให้แสงสว่าง ใช้ตามบ้านเรือน สำนักงาน ตามที่สาธารณะ ตลอดไปจนถึงอุปกรณ์ให้แสงสว่างต่าง ๆ สำหรับงานทางด้านอุตสาหกรรม มีหลายชนิดให้เลือกใช้ตามความเหมาะสม


    ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ หลอดไฟ         ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ หลอดไฟ        
    Previous
    Next Post »